วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

1.ความหมาย

อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร                        
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย  รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก หรือทั้งจักรวาล
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายของเครือข่าย (A network of network)

สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้ออกมา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net
Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง
Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย
เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลได้ว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย

          อินเทอร์เน็ต เป็นคำที่รู้จักหรือได้ยินกันบ่อยครั้งมาก เว็บเพจต่อไปนี้เป็นความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต และการใช้งาน เนื้อหาประกอบด้วย 9 ส่วน ได้แก่
    • อินเทอร์เน็ตคืออะไร?
    • ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
    • ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
    • เราจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร?
    • กลไกการทำงานของ SLIP/PPP
    • อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างไร?
    • ใครเป็นเจ้าของ อินเทอร์เน็ต
    • บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต
    • โทษของอินเทอร์เน็ต
2. ประวัติความเป็นมา

          อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรกในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมดสำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด


3. การทำงานการเชื่อมต่อแบบต่างๆ


การทำงานของอินเทอร์เน็ต
          การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครือข่ายของ ตนเองและทำธุรกิจ
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเทอร์เน็ตได้
องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล
1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
4. โมเด็ม (Modem)
โมเด็ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital) แต่สัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) ดังนั้นเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องใช้โมเด็มเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อถึงปลายทาง
ความเร็วของโมเด็มมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bit per second : bps) หมายความว่า ในหนึ่งวินาที จะมีข้อมูลถูกส่งออกไป หรือรับเข้ามากี่บิต เช่น โมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kpbs จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 56 กิโลบิตในหนึ่งวินาที
โมเด็มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem)
เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก ราคาของโมเด็มภายนอกไม่สูงมากนัก แต่จะยังมีราคาสูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน รูปที่ 6.3 แสดงโมเด็มภายนอก
. โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem)
เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไปกับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด (main board) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก เวลาติดตั้งต้องอาศัยความชำนาญในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งไปกับแผงวงจรหลัก
. โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note Book Computer) อาจเรียกสั้นๆว่า PCMCIA modem
2.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS
โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

4. IP addressคืออะไร

       ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับ Subnetmask เราจะต้องมาทำความเข้าใจ กับ เรื่องของ IP Address เสียก่อน เพราะไม่งั้นท่านทั้งหลายจะงง และหลงทางมาก ถ้าไม่ทำความเข้าใจกับ เรื่องของ IP Address ให้ดีเสียก่อน
IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น
มาตรฐานของ IP Address ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน version 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4 วึ่งกำหนดให้ ip address มีทั้งหมด
32 bit หรือ 4 byte แต่ล่ะ byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ภายในหมายเลขที่เราเห็นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
1. Network Address หรือ Subnet Address
2. Host Address
บนเครื่อง computer ที่ใช้ TCP/IP Protocol จะมีหมายเลข IP Address กำกับอยู่ address นี้ เป็นอยู่ใน Layer 3 ของ OSI model ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (Logical address) และบนเครื่อง computerไม่ว่าจะใช้ Protocol ใด ๆ ก็ตามจะต้องมีหมายเลข ที่เรียกว่า MAC Address ประจำอยุ่ที่ Network card เสมอ MAC Address นี้เป็น Hardware Address ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยน Network card

5. Domani name การกำหนดชื่อ www

โดเมนเนม (domain name) คืออะไร
        โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่ายทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันทีโดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร
โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ
ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
  1.  โดเมน 2 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
  2.  โดเมน 3 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ
โดนเมนเนม 2 ระดับ
จะประกอบด้วย  www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
    * .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
    * .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
    * .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
    * .edu คือ สถาบันการศึกษา
    * .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
    * .mil คือ องค์กรทางทหาร
  
โดนเมนเนม 3 ระดับ  
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
 ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ
    * .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
    * .ac คือ สถาบันการศึกษา
    * .go คือ องค์กรของรัฐบาล
    * .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
    * .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
    * .th   คือ ประเทศไทย
    * .cn  คือ ประเทศจีน
    * .uk  คือ ประเทศอังกฤษ
    * .jp   คือ ประเทศญี่ปุ่น
    * .au  คือ ประเทศออสเตรเลีย
    โดนเมนเนม ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่มองข้ามไม่ได้เลยสำหรับเว็บไซต์นั้นๆ โดยเฉพาะกับการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ท ถ้าได้ชื่อที่เฉพาะเจาะจง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้วนั้น จะทำให้โดเมนเนม หรือ เว็บไซต์นั้นๆ จะได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำได้ง่ายไม่ใช่กับผู้เข้าชมหรือกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านโดมเนมเท่านั้นยังรวมไปถึง Search Engine ชื่อดังต่างๆ เช่น Google Yahoo MSN เป็นต้น ที่จะเข้ามาแวะเวียนเข้ามาทำ index กับเว็บเพจหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ของเราหลังจากจดโดนเมนเนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญลำดับถัดมานั้นก็คือ โฮสติ้ง (Hosting) หรือ ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเรานั้นเอง ซึ่งโฮสติ้งแต่ละที่จะมี DNS หรือ Name Server ที่ทางผู้ให้บริการโฮสติ้ง จะเป็นคนกำหนดและแจ้งให้เราทราบเพื่อเอาไปใส่ให้โดมเมเนมของเราเช่น DNS ของ B2C Creation จะมีชื่อว่า NS1.B2CCREATION.COM และ NS2.B2CCREATION.COM ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้เพราะถ้าคุณ
จด Domain Nameและใช้บริการโฮสติ้งกับผู้ให้บริการคนเดียวกันจะไม่มีปัญหาอะไรเลยครับ หรือแม้ว่าจะเป็นคนละคนกัน เพียงแค่นำ DNS ที่ได้ ไประบุให้กับโดเมนเนมนั้นตามที่ได้อธิบายไปแล้วส่วนเรื่องราคาในท้องตลาดบ้านเรามีหลากหลายราคาแล้วแต่ความพึ่งพอใจ ซึ่งทาง B2C Creation ของเราได้ให้บริการจดโดมเมเนมนี้ด้วยเช่นกันท่านที่สนใจสามารถคลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่


6.Web browser


Web Browser คืออะไร
web browser หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML)ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนสื่อในการติดต่อกับเครือข่าย หรือ เน็ตเวิร์คขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบันเป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย



7. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่"ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้


8.บริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต

1. Telnet หรือ SSHประวัติความ

เครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้ติดต่อเครื่องบริการ (Server) เพื่อเข้าควบคุมการทำงานของเครื่อง ปิดเปิดบริการ รับส่งเมล ใช้พัฒนาโปรแกรม เป็นต้น โปรแกรมนี้มีมาพร้อมกับการติดตั้ง TCP/IP ผู้ใช้สามารถเรียกใช้จาก c:\windows\telnet.exe แต่การใช้งานเป็นแบบ Text Mode ที่ผู้ใช้ต้องเรียนรู้คำสั่งให้เข้าใจก่อนใช้งาน ในอดีตผู้ใช้มักใช้โปรแกรม Pine ในเครื่องบริการสำหรับรับส่งอีเมล ก่อนการใช้ POP3 และ Web-Based จะแพร่หลาย โปรแกรม PINE ถูกพัฒนาโดยนักศึกษามหาวิทยาลัย WASHINGTON University

2. อีเมล (e-mail หรือ Electronic Mail)


อีเมล คือ บริการกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้สามารถรับ และส่งอีเมลในอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสาร ปัจจุบันบริการอีเมลผ่าน Web-Based Mail ได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีหลายบริษัทเปิดให้บริการฟรีอีเมล เช่น hotmail.com, yahoo.com, thaimail.com, chaiyo.com, lampang.net, thaiall.com
บริการอีเมลที่ได้รับความนิยมมี 2 ประเภทคือ Web-Based Mail และ POP3 บริการแบบ POP3 นั้นผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมลจากเครื่องบริการเมลไปเก็บไว้ในเครื่องของตน จึงเปิดอ่านอีเมลเก่าได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เหมาะกับผู้ใช้ในสำนักงานที่มีเครื่องเป็นของตนเอง โปรแกรมที่ใช้เปิดอีเมลแบบ POP3 เช่น Outlook Express, Eudora หรือ Netscape Mail เป็นต้น

3. USENET News หรือ News Group

ในยุคแรกของอินเทอร์เน็ต มีผู้ใช้บริการ USENET อย่างแพร่หลาย เพราะเป็นแหล่งข้อมูลให้สืบค้นขนาดใหญ่ สามารถส่งคำถาม เข้าไปตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น ทำให้เกิดสังคมของการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ปัจจุบันมีการใช้งาน USENET น้อยลง เพราะผู้ใช้หันไปใช้เว็บบอร์ดซึ่งเข้าถึงได้ง่าย และเป็นที่แพร่หลายกว่า ปัจจุบันเชื่อว่าเยาวชนรู้จัก http://www.pantip.com มากกว่า news://soc.culture.thai
4. FTP (File Transfer Protocal - บริการโอนย้ายข้อมูล)

บริการนี้ สามารถใช้ download แฟ้มผ่าน browser ได้เพราะการ download คือ การคัดลอกโปรแกรมจาก server มาไว้ในเครื่องของตน แต่ถ้าจะ upload แฟ้ม ซึ่งหมายถึง การส่งแฟ้มจากเครื่องของตน เข้าไปเก็บใน server เช่นการปรับปรุง homepage ให้ทันสมัย ซึ่ง homepage ของตนถูกจัดเก็บใน server ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง จะต้องใช้โปรแกรมอื่น เพื่อส่งแฟ้มเข้าไปใน server เช่นโปรแกรม cuteftp หรือ wsftp หรือ ftp ของ windows
การ download นั้นไม่ยาก หากผู้ให้บริการยอมให้ใครก็ได้เข้าไป download แฟ้มใน server ของตน และผู้ใช้บริการรู้ว่าแฟ้มที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด แต่การ upload มักไม่ง่าย เพราะต้องใช้โปรแกรมเป็น และมีความเป็นเจ้าของในเนื้อที่ที่จะกระทำ รวมทั้งมี userid และ password เพื่อแสดงสิทธิในการเข้าใช้บริการ การศึกษาการส่งแฟ้มเข้าไปใน server อาจต้องหา บทเรียน ftp มาอ่านเพื่อศึกษาวิธีการส่ง หรือหาอ่านได้จาก เว็บที่ให้บริการ upload แฟ้ม ซึ่งมักเขียนไว้ละเอียดดีอยู่แล้ว
+ ipswitch.com (WS_FTP Client)
+ filezilla.sourceforge.net แนะนำโดย thaiopensource.org

5. WWW (World Wide Web


บริการที่ต้องใช้โปรแกรม Web Browser เช่น FireFox, Netscape, Internet Explorer, Opera หรือ Neoplanet เพื่อเปิดดูข้อมูลจากเว็บไซต์ (Website) หรือโฮมเพจ (Homepage) จะได้ข้อมูลในลักษณะเป็นตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะสื่อผสม รวมทั้งการสั่งประมวลผล และตอบสนองแบบอินเทอร์แอ็กทีฟ (Interactive)
บริการนี้ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น ชมภาพยนต์ ฟังเพลงออนไลน์ เล่นเกมส์ ค้นข้อมูล ประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ ทำข้อสอบ การส่งเมล ติดต่อซื้อขาย ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือส่งโพสท์การ์ด เป็นต้น

6. Skype, Net2Phone, Cattelecom.com

บริการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ที่บ้าน (PC2Phone) และได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ถูกกว่า และผู้ให้บริการบางรายยังมีบริการ PC2Fax สำหรับส่ง Fax จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเครื่องรับ Fax ที่สำนักงาน โดยชำระค่าบริการแบบ Pre-Paid และใช้บริการจนกว่าเงินที่จ่ายไว้จะหมด
แต่ถ้าโทรจากคอมพิวเตอร์ไปยังคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ฟรี เพราะมีโปรแกรมหลายตัวที่มีความสามารถนี้ และฟรีเช่นกัน บาง

7. Netmeeting


ในอดีต .. เป็นโปรแกรมที่มีชื่อมาก เพราะทำให้คนจากซีกโลกหนึ่ง สามารถติดต่อกับอีกซีกโลก ด้วยภาพ และเสียงจากคอมพิวเตอร์ ถึงคอมพิวเตอร์ คล้ายโทรศัพท์ แต่ไม่มีค่าโทรศัพท์ทางไกลไปต่างประเทศ เสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น
ผู้ใช้ต้อง download โปรแกรมมาติดตั้ง แต่ปัญหาที่สำคัญในการติดต่อสื่อสารแบบนี้ คือ ต้องการสื่อที่รองรับการสื่อสารด้วยความเร็วสูง เพราะการติดต่อด้วยเสียง อาจได้เสียงที่ไม่ชัดเจน หรือขาดหายระหว่างการสนทนา หากความเร็วในการเชื่อมต่อไม่เร็วพอ และเป็นไปไม่ได้ ถ้าใช้การเชื่อมต่อเว็บแคม (WebCam) แบบเห็นภาพร่วมด้วย ถ้ายังใช้ Modem 56 Kbps อยู่ แต่ถ้าใช้ ADSL ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องความเร็วอีกต่อไป
To Open Netmeeting in WinXP : Start, Run, conf.exe

8. ICQ (I Seek You)
ในอดีต .. บริการนี้เป็น บริการที่เยี่ยมมาก และได้รับความนิยมจนไม่คิดว่าจะมีใครมาล้มได้ ผู้ใดที่มีโปรแกรม ICQ ไว้ในคอมพิวเตอร์ จะติดต่อกับเพื่อนที่ใช้โปรแกรม ICQ อยู่ได้อย่างสะดวก เพราะเมื่อเปิดเครื่อง โปรแกรมนี้จะแสดงสถานะของเพื่อนใน List ทันทีว่ามาแล้ว และพร้อมจะสนทนาด้วยหรือไม่ เปรียบเสมือนมี Pager ติดคอมพิวเตอร์ไว้ทีเดียว บริการนี้ ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมมาติดตั้งฟรี เบอร์ที่ผมเคยใช้คือ 20449588
ปัจจุบันผู้คนหันไปใช้ MSN Messenger หรือ Yahoo Messenger
+ msn.com (Webcam, Speaker, Microphone)
9. IRC (Internet Relay Chat)

ในอดีต .. บริการนี้คนไทยทุกวัย ชอบกันมาก โดยเฉพาะโปรแกรม PIRC เพราะทำให้สามารถสนทนากับใครก็ได้ที่ใช้โปรแกรม PIRC การสนทนากระทำผ่านแป้นพิมพ์ โดยไม่จำเป็นต้องเห็นหน้า หรือรับผิดชอบต่อสิ่งที่พิมพ์ออกไป หญิงอาจบอกว่าตนเป็นชาย นักเรียนมัธยมอาจบอกว่าตนเป็นนางงาม เด็กตจว. อาจบอกว่ากำลังเรียนต่อแอลเอ เป็นต้น
ใน IRC มักแบ่งเป็นห้อง โดยมีชื่อห้องเป็นตัวระบุหัวข้อสนทนา หรือสื่อให้รู้กันในกลุ่ม เช่น "ห้องวิธีแก้เหงา" หากใครต้องการสนทนาถึงวิธีแก้เหงา เข้าไปในห้องนั้น หรือเข้าหลายห้องพร้อมกัน สามารถเลือกสนทนากับใครเป็นการส่วนตัว หรือจะสนทนาพร้อมกันทั้งกลุ่ม เมื่อสนทนากันถูกคอก็สามารถ ที่นัด Meeting ตามร้านอาหาร เพื่อนสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หรือนัดสนทนากันใหม่ในเวลาที่สะดวกสำหรับวันต่อไป จึงทำให้ทุกเพศทุกวัย ชื่นชอบที่จะใช้บริการนี้อย่างมาก โดยเฉพาะคนที่ยังไม่มีคู่ชีวิต
ปัจจุบันผู้คนหันไปใช้ Messenger หรือ Web Chat
10. Game Online

เกมส์กลยุทธหลายเกมส์ เป็นการจำลองสถานการณ์การรบ หรือการแข่งขัน ทำให้ผู้ใช้สามารถต่อสู้กับตัวละครในคอมพิวเตอร์ เสมือนคอมพิวเตอร์สามารถคิดเอง และสู้กับเราได้ แต่ก็ยังมีจุดบกพร่อง เพราะไม่เหมือนการสู้กับคนที่คิดเป็น และพูดคุยโต้ตอบได้ จึงมีการสร้างเกมส์ และบริการ ที่ทำให้ผู้ใช้ต่อสู้กัน หรือร่วมกันสู้ โดยจ่ายค่าลงทะเบียน เพื่อขอรหัสผู้ใช้เข้าเครื่องบริการ เพื่อการติดต่อสื่อสาร หรือทำภารกิจกับเพื่อนร่วมรบ ที่มีจุดมุ่งหมาย หรือชื่นชอบในเรื่องเดียวกัน เป็นบริการเพื่อความบันเทิงที่กำลังเติมโต อย่างรวดเร็วในโลกอินเทอร์เน็ต
และในอนาคต ผู้ที่เคยติดเกมจะได้เรียนรู้ว่า เขาน่าจะทำกิจกรรมอื่นมากกว่าติดเกม
11. Software Updating

มีโปรแกรมมากมายที่ใช้ประโยชน์จากการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และหนึ่งในนั้นก็คือ บริการปรับปรุงโปรแกรม แบบ Online เช่น โปรแกรมฆ่าไวรัส ที่มีชื่อเสียง เกือบทุกโปรแกรม หรือระบบปฏิบัติการอย่าง Microsoft ก็ยอมให้ผู้ใช้สามารถเข้ามา Download ข้อมูลไปปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อใช้ต่อสู้ไวรัสตัวใหม่ หรือแก้ไขจุดบกพร่องที่พบในภายหลัง ผู้ใช้เพียงแต่เลือก Click บนปุ่ม Update โปรแกรมจะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ของตน และทำงานเองจนการ update สมบูรณ์
+ clamwin.com แนะนำโดย thaiopensource.org
12. Palm หรือ PocketPC
Palm หรือ PocketPC นั้นต่างก็เป็น Organizer ยุคใหม่มีอีกชื่อหนึ่งว่า PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งถูกตั้งชื่อโดย Apple ตั้งแต่ปี 1990 แต่สมัยนั้นยังไม่สำเร็จ จึงมีการพัฒนาเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีความสามารถสูงมาก เพราะสามารถพัฒนาโปรแกรม สั่งให้ palm ทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ทำให้ความสามารถหลักด้าน organizer กลายเป็นส่วนประกอบไปเลย เพราะมีผู้พัฒนาโปรแกรมให้กับ palm มากทีเดียว คนไทยก็ทำครับ เพื่อให้ palm เข้าใจภาษาไทย และใช้ปากกาเขียนภาษาไทยให้ palm อ่านรู้เรื่องได้ทันที
Palm สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยผู้ใช้ palm สามารถเขียน mail ใน palm เมื่อต้องการส่งก็ upload เข้าคอมพิวเตอร์ที่ online กับ internet แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทำหน้าที่ส่ง mail ให้อัตโนมัติ รวมถึงการรับ mail ใหม่เข้าไปใน palm ทำให้สามารถอ่าน mail จากที่ไหนก็ได้ แต่เป็นการทำงานแบบ offline ไม่เหมือนมือถือที่อ่าน mail ได้แบบ online แต่ palm ไม่ใช่มือถือครับ (palm.com)
PocketPC คืออะไร
ผลจากปี 1998 เมื่อ Microsoft แนะนำ WindowCE ซึ่งทำงานกับ Palm-sized PC ซึ่งพยายามตี palm ให้แตก ด้วยการสร้างระบบปฏิบัติการ ที่เป็นมาตรฐานใหม่ บริษัทต่าง ๆ ที่สนใจจึงเริ่มผลิตสินค้า ที่ใช้ Windows CE โดยมีชื่อเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า PocketPC คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่กำหนดมาตรฐานโดย Microsoft เจ้าเก่า(งานนี้ palm อาจต้องหนาว) ทำให้ PocketPC ที่ผลิดโดยบริษัทใดก็แล้วแต่ เช่น Compaq, Casio, HP เป็นต้น สามารถเปิดเว็บ พิมพ์ Word หรือ Excel ฟัง MP3 หรือแม้แต่ดูหนัง ก็ยังได้

13. WAP (Wireless Application Protocal)
WAP เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บเพจที่พัฒนาเพื่อโทรศัพท์มือถือตามมาตรฐาน WAP โดยเฉพาะ เช่น wopwap.com, wap.siam2you.com, wap.a-roi.com, wap.mweb.co.th รุ่นของโทรศัพท์ในยุคแรกที่ให้บริการ WAP เช่น Nokia7110, Nokia9110i, EricssonR320, EricssonA2618, Alcatel OneTouch View WAP หรือ 300 family หรือ 500 family หรือ 700 family, MotorolaV8088 เป็นต้น เว็บที่มีข้อมูลเรื่อง wap เช่น wapinsight.com, wap-uk.com, waphq.com, wapjag.com, yourwap.com, waptastic.com เป็นต้น
ปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องเข้า Wap Website แต่เข้าเว็บไซต์โดยตรงผ่านบริการ GPRS (General Packet Radio Service) ใน GSM Mobile Phone [wikipedia.org]

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

search engine

เสิร์ชเอนจิน คืออะไร





            เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา และคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป


ประเภทของSearch Engine


        internet search enginesประเภทของ Search Engine และหลักการทำงาน internet search enginesเจ้าScarch Engine ที่ว่านี้ สามารถแบ่งออกได้หลากหลายประเภท โดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้วจะอ้างอิงตามลักษณะการทำงาน ซึ่ง search engine submissionจะสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ครับ

    1,แบบอาศัยการจัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก Crawler-Based Search Engines
Crawler-Based Search Engines คือ เครื่องมือคำค้นหาบนอินเทอร์เน็ต
internet search engines แบบอาศัยการบันทึกและการจัดเก็บข้อมูลด้วยตัวเองเป็นหลัก นับได้ว่าเป็นประเภทของ Search Engine ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมาที่สุด ด้วยประสิทธิถาพในส่วนของผลการค้นหาที่ให้ความแม่นยำสูงและการประมวลค้นหาภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งถือได้ว่า Crawler-Based Search Engines ประเภทนี้ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการก้าวกระโดดของวงการอินเทอร์เน็ตในโลกยุคปัจจุบันเลยก็ว่าได้ครับ
internet search enginesโดยหลัการทำงานจะอาศัยองค์ประกอบหลักอยู่ 2 ส่วนคือ
1. ฐานข้อมูลของตนเองที่มีระบบการประมวลผลและจัดอันดับการค้นหา internet search engines
2. คือระบบซอฟท์แวร์ ที่จะอาศัยโปรแกรมตัวเล็กๆ ว่า Web Crawler หรือ Spider หรือ
Search Enging Robots ครับ ส่วนภาษาไทยจะเรียกแบบง่ายๆว่า แมงมุม ครับ
เจ้าแมงมุมที่ว่านี้ จะคืบคลาน (Claw) ไปทุกเว็บไซต์ใน อินเทอร์เน็ตที่มันตรวจพบ โดยจะเน้นการมองหาเว็บไซต์ใหม่ๆเนื้อหาใหม่ๆ หรือแม้กระทั้งหน้าเพจเดิมที่มีการปรับปรุงเนื้อหาใหม่ (Update Content)
internet search engines


ซึ่งการเก็บข้อมูลนี้จะอาศัยหลักการ ไต่ ไปตามลิงค์ต่างๆ ของหน้าเพจที่กำลังทำการตรวจสอบอยู่ และจะทำการ สำเนาข้อมูล ของหน้าเพจนั้นๆทั้งหมด (มันก็คือการ Copy ข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างที่ตรวจพบ ยกเว้นไฟล์เอกสารที่อยู่ในตระกลู Flash เช่น .swf) แล้วจึงส่งข้อมูลที่ Copy แล้วกลับไปยัง Server ต้นทางของต้นเอง เพื่อทำการบันทึก(Pages Index) ลงสู่ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Search Engine Index Server) ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่เราทำการค้นหาสิ่งที่เรา
ต้องการนั้น Search Engine Server จะเริ่มทำการประมวลผลการฐานข้อมูลของตนเองที่ถือ
อยู่และแสดงผลการค้นหาออกมา
internet search engines

และนี่คือเหตุผลครับว่าทำไม Search Engine ชื่กดังหลายแห่งถึงได้ค้นหาหน้าเพจต่างๆได้
อย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียงแค่เสี้ยววินาทีเท่านั้น
internet search enginesต่อการค้นหา 1 ครั้งโดยตัวอย่างของ Search Engine ประเภท นี้ก็คือ Google,Yahoo และ MSN นั้นเองครับ

    2. แบบสารบัญเว็บไซต์ Web Directory
Web Directory หรือ เว็บไดเร็คทนอรี่ หรือที่คนไทยนิยมเรียกติดปากว่า สารบัญเว็บไซต์
นั่นเอง เจ้ารูปแบบนี้จะอาศัยหลักการทำงานง่ายๆ เหมือนวิธีการใช้งานสมุดหน้าเหลือง ที่มีเนื้อหาที่ถูกแยกหมวด
internet search engines และจัดทำดัชนีไว้แล้วอย่างเป็นระเบียบไว้อย่างชัดเจน
ข้อดีก็คือเราจะสามารถเข้าไปดูข้อมูลของเว็บไซต์ทั้งหมด ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน และตรงตามที่เรากำลังต้องการของหมวดหมู่นั้นๆ ในปริมาณมาก และสามารถนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาลองดู ลองเอามาเปรียบเทียบกับเว็บไซต์อื่นๆ กันตรงนั้นได้เลย(เห็นหมดเลยว่าคู่แข่งเว็บเรามีใครบ้างก็เล่นมีเนื้อหาตรงกับเรานินา)
สำหรับการโปรโมทเว็บตนเองกันง่ายๆ แบบลูกทุ่งๆ ไม่ต้องอาศัยเทคนิคประเทืองปัญญากันเลยแม้แต่น้อย แค่เริ่มกันที่ขั้นตอนการลงทะเบียนเว็บไซต์ของเราลงสู่ระบบ
internet search engines ซึ่งเราต้องกรอกรายละเอียดที่จำเป็นเกี่ยวกับเว็บไซต์ของเรา ไม่ว่าจะเป็น ชื่อเว็บไซต์ URL ,รายละเอียดอย่างย่อ,หมวดหมู่ของเว็บไซต์ที่เหมาะสมกับเว็บไซต์เรา,คำค้นหาที่เราต้องการ
จากนั้นข้อมูลการลงทะเบียนเว็บไซต์ของเราจะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลของสารบัญเว็บไซต์นั้นๆ (โดยทัวยไปเรียกว่า Editor) ซึ่งหากเพื่อนๆกรอกรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน และเลือกหมวดหมู่ที่ถูกต้องกับเนื้อหาเกี่ยวข้องเว็บไซต์ได้แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลก็จะอนุมัติขอ้มูลในการลงสู่ฐานข้อมูลของสารบัญเว็บไซต์ให้ครับ
คราวนี้มาดูในส่วนของผู้ใช้งานสารบัญเว็บไซต์กันบ้าง ซึ่งธรรมชาติของ สารบัญเว็บไซต์ จะจัดแยกเว็บไซต์ต่างๆไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ให้ถูกต้องมากที่สุด โดย
internet search enginesจะแยกหมวดไหญ่ออกมาก่อนจากนั้นจึงค่อยแตกย่อยเป็นหมวดเล็กๆ น้อยๆ ออกไปเรื่อย

    3.แบบอ้างอิงใน ชุดคำสั่งเมตะ Meta Search Engine
ก่อนจะรู้จักกับ Search Engine ประเภทนี้ ผมคงต้องขอแนะนำให้เรารู้จักกับอีกหนึ่งชุดคำสั่ง
ที่มักจะมีอยู่ใน Code HTML ตามหน้าเพจต่างๆ กันก่อนดีกว่าครับ ซึ่งก็คือชุดคำสั่ง Meta tag นั่นเอง
Meta Tag (เมตะ แท็ก) คือชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับประกาศข้อมูลสำคัญต่างๆ ของเอกสาร หน้าเพจนั้นๆ เช่น ชื่อผู้พัฒนา เจ้าของเว็บไซต์ คำค้นหา (คีย์เวิร์ด) คำอธิบายย่อของเว็บไซต์โดยจะปรากฏในส่วนหัวของเอกสารเว็บ(Head Section) มีหน้าที่เพื่อแจ้งข้อมูลสำคัญๆให้กับ Search Engine Robots ได้รับทราบ
Search Engine ประเภทนี้ จะไม่มีระบบฐานข้อมูลของตนเองครับ แต่จะอาศัยข้อมูลจาก Search Engine Index Server จากที่อื่นหลายๆ ที่นำเอามาประมวลผลร่วมกัน ทำให้เกิดผลการค้นหาที่หลายหลาย แต่ในทางตรงกันข้าม ผลการค้นหาที่หลากหลายเหล่านั้นมักได้ผลลัพธ์ออกมาไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร เนื่องจากยังอาศัยข้อมูลจาก Search Engine Index Server หลายๆ แห่งนำมารวมกันครับ
ฉะนั้นชุดคำสั่ง Meta Tag จึงจำเป็นมากสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการทำ Ranking สูงๆ กับ
Meta Search Engine โดยเฉพาะครับ ตัวอย่าง เช่นที่ Ixquick



Search Engines ต่างประเทศ
1. Alexa
Top-500 Ranking of the most popular sites in the World !
www.alexa.com
3.All the webwww.alltheweb.com
5.Ananzi South Africa - Search Engines www.ananzi.co.za/
6.Ask Jeeveswww.askjeeves.com/
7.Chemical Search Enginewww.chemindustry.com
8.dmozdmoz.org/
12.Go.comwww.go.com

15.HealthAtoZ.comwww.healthatoz.com/
16.HighBeam eLibrary Researchwww.highbeam.com/library/index.asp?
18.Information Pleasewww.infoplease.com
19.Infoseekwww.infoseek.com
20.InfoMinewww.infomine.com
21.Librarians' Index to the Internetwww.lii.org
23.MAGELLANwww.mckinley.com
25.MSN Searchsearch.msn.com
26.NetGuidewww.netguide.com

27.Northern Lightwww.northernlight.com
28.Savvy Searchwww.savvy.com
30.Sciseekwww.sciseek.com
31.Search.Comwww.search.com
32.Search Engine Watchsearchenginewatch.com/awards/
33.Social Science Information Gateway
www.sosig.ac.uk
34.Twinginetwingine.com
36.WebCrawlerwebcrawler.com
37.Yahoo!www.yahoo.com



Search Engines ในประเทศไทย
ชมรมเว็บเพจไทยwww.webpagethai.org/
สรรสารwww.sansarn.com
สารบัญเว็บไทยwww.geocities.com/Tokyo/4737/
ThaiWebSearchwww.thaiseek.com
Intelliseekwww.intelliseek.com
Complete Planetwww.completeplanet.com
The Invisible Web directorywww.invisible-web.net

ความสำคัญของ search engine


            เสิร์ชเอนจินถือเป็นเครื่องมือใหม่ในการสืบค้นหาข้อมูลต่างๆบนโลกออนไลน์โดยเสิร์ชเอนจินทำงานอยู่บนเว็ปไซต์ค้นหาทั้งหลายเช่น Google,Yahoo,Msn เป็นต้นซึ่งในเว็ปไซต์เหล่านี้จะมีโปรแกรมค้นหาRobot ซึ่งข้อมูลที่ค้นหาต้องมีปรากฎอยู่ในฐานะข้อมูลของเว็ปไซต์ค้นหานั้นๆจึงจะหาพบซึ่งผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจะทราบดีถึงวิธีการค้นหาข้อมูลต่างๆและผู้คนทั่วโลกก็นิยมค้นหาข้อมูลหรือเสิร์ชเอนจินผ่านเว็ปไซต์ค้นหามากขึ้นแบบก้าวกระโดดไม่ว่าจะหาอะไรก็หาเจอถ้าข้อมูลนั้นๆถูกนำมาจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของเว็ปไซต์ค้นหา ดังนั้นเราจึงเห็นเว็ปไซต์แต่ละค่ายจึงต้องทำเสิร์ชเอนจินให้เว็ปไซต์ของตัวเองติดอันดับต้นๆในฐานะข้อมูลของเว็ปไซต์เสิร์ชเอนจินอย่างGoogleซึ่งถือว่าเป็นเว็ปไซต์ค้นหาอันดับหนึ่งของโลกที่มีผู้คนคนหามากที่สุดการค้นหาข้อมูลในเว็ปไซต์เสิร์ชเอนจินต้องใช้คีย์เวิร์ดซึ่งคีย์เวิร์ดที่ให้เป็นภาษาอะไรก็ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศของเขตแดน
     ดังนั้นเสิร์ชเอนจินจึงมีความสำคัญมากๆสำหรับทุกๆเว็ปไซต์ที่ต้องการให้เว็ปไซต์ของตัวเองค้นหาได้ง่ายขึ้นเพื่อให้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเพิ่มมากขึ้น โอกาสของธุรกิจก็จะมากขึ้นไปด้วยเสิร์ชเอนจินจึงมีความสำคัญและบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและรวดเร็วประเภทว่าเสิร์ชเอนจินโตแบบก้าวกระโดดก็ว่าได้


ประโยชน์ของเสิร์ชเอนจิน


1.ได้ลุกค้าและขายสินค้าได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
2.ไม่ต้องเสียค่าโฆษณาเป็นรายเดือนเหมือนสมัยก่อน
3.ลูกค้าเข้าขายได้ง่ายขึ้น ด้วยคีย์เวิร์ดต่างๆที่เราตั้งไว้
4.ปรับแต่ได้ง่ายและรวดเร็ว
5.เป็นบริการที่ฟรี



รายชื่อเสิร์ชเอนจินเรียงลำดับตามความนิยม


สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา
  1. กูเกิล (Google) 49.2%
  2. ยาฮู(Yahoo!) 23.8%
  3. เอ็มเอสเอ็น (MSN ) 9.6%
  4. เอโอแอล (AOL) 6.3%
  5. อาส์ก (Ask) 2.6%
  6. อื่นๆ 8.5%
เสิร์ชเอนจินอื่นๆ
  • ไป่ตู้ (Baidu) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน
  • Cuil
  • ยานเดกซ์ (Yandex) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของรัสเซีย[3]

เสิร์ชเอนจินในอดีตที่ยกเลิกการใช้งานแล้ว

ในประเทศไทยมีการพัฒนาเครื่องมือค้นหาของไทยในชื่อ สรรสาร พัฒนาโดยเนคเทค


ประเภทของเครื่องมือค้นหา


           Catalog based search engine เป็นโปรแกรมสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่ง โดยโปรแกรมจะรวบรวม และแยกจัดเก็บเว็บไว้ในฐานข้อมูลตามประเภทหัวข้อของเว็บ เมื่อผู้ใช้มาค้นหา ก็จะสามารถเข้าไปดูตามหัวข้อต่าง ๆ แล้วดูหัวข้อย่อย ๆ เข้าไปอีกจนกว่าจะเจอหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการ ตัวอย่าง catalog based search engine คือ Yahoo เป็นต้น ซึ่งจะต่างกับ query based search engine ที่จะต้องพิมพ์คำค้นหาเพื่อตรวจสอบกับฐานข้อมูลว่ามีข้อมูลนี้หรือไม่ ถ้ามีก็จะแสดงรายชื่อออกมา


หลักการทำงานของเสิร์ชเอนจิน


  • การตรวจค้นหาข้อมูลในเว็บเพจต่างๆ

  • ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทำการตรวจค้นไว้ในฐานข้อมูล

  • การแสดงผลการค้นหาข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น


เสิร์ชเอนจินมาเก็ตติ้ง


อ้างอิง

  1. ^ ศัพท์บัญญัติคำว่า search engine คือ โปรแกรมค้นหา ชื่อในศัพท์บัญญัติ ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิ.ย. 2551
  2. ^ สัดส่วนผู้ใช้งานเสิร์ชเอนจิน ข้อมูลจากเสิร์ชเอนจินวอตช์ ปี 2548
  3. ^ Where Google Isn't Goliath BusinessWeek