วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. คอมพิวเตอร์

ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.คอมพิวเตอร์

“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิ วเตอร์ พ.ศ.2550” ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นับได้ว่าเป็นที่จับตามองและมีความสำคัญอย่างมากในทุ กวงการ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่ว นหนึ่งในชีวิตประจำวัน ของเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ภาครัฐ เอกชน คนทำงาน นิสิต นักศึกษา ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความ เข้าใจเกี่ยวกับพ .ร.บ.ฉบับนี้ และเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ และให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยของเราเป็นไปใ นทางที่สร้างสรรค์

ความผิดที่เข้าข่าย

การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
  1. การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิว เตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
  2. การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
  3. การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
  4. การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
  5. การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื ่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
  6. การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ข องคนอื่นโดยปกติสุข
  7. การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเคร ื่องมือในการกระทำความผิด
  8. การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำควา มผิด
  9. การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล
  10. เหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย
2. ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว ่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่อินเท อร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน

3. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
4. ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น


ในกรณีนี้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูล 2 ประเภท โดยแบ่งตามรูปแบบได้ ดังนี้

1. “ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์” ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ที่บอกถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันที่ เวลา ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการเก็ บข้อมูลนั้นๆ ไว้ เกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
2. ข้อมูลของผู้ใช้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ก็ ตาม โดยต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตั วผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน USERNAME หรือ PIN CODE และจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง

ข้อดี - ข้อเสีย พ.ร.บ.กระทำผิดคอมพิวเตอร์

              ภายหลังจากประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่องหลักเกณฑ์การจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หรือ ล็อกไฟล์ (Log File) ซึ่งเป็นกฎหมายลูกที่ตามออกมาภายหลังการบังคับใช้พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 นี้ ยังเกิดความคิดเห็นแตกต่างกันออกเป็น 2 ขั้ว

   ขั้วหนึ่งมองว่าพรบ.ดังกล่าวจะกระทำกับสิทธิส่วนบุคคล โดยเฉพาะองค์กรปฏิรูปสื่อ ขณะที่อีกขั้วหนึ่ง ฝั่งผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตมองว่าพรบ.ดังกล่าวจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานอินเตอร์เน็ต 

       ++คปส.ชี้ ก.ม.ผ่านสภาเร็วไป
        นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ(คปส.) กล่าวว่า รู้สึกกังวลกับการที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที.จะออกกฎกระทรวงเรื่องหลักเกณฑ์การจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หรือ ล็อกไฟล์ (Log File) ซึ่งเป็นกฎหมายลูกของพระราชบัญญัติการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยมีความกังวลตั้งแต่การผลักดันพระราชบัญญัติการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ผ่านสภาออกมาแล้ว
โดยเล็งเห็นว่าเป็นกฎหมายที่ออกมารวดเร็วเกินไปโดยที่สังคมยังไม่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันให้ได้ข้อยุติอย่างทั่วถึง ที่มาและบรรยากาศทางการเมืองที่เป็นอยู่ การเร่งรัดให้ออกกฎหมายนี้มาบังคับใช้ แม้ทางการจะอ้างว่าเพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์ แต่สังคมส่วนใหญ่เชื่อว่ามาจากแรงจูงใจด้านการเมืองโดยอ้างความมั่นคงเป็นหลักมากกว่า
แม้ทางไอซีที.จะบอกว่าในการบังคับให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตต้องบันทึกข้อมูลการรับ-ส่งข้อมูลไว้ให้ตรวจสอบอย่างน้อย 90 วัน โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับเนื้อหาหรือตัวข้อมูลก็ตาม แต่ในมาตรา 12-13 ของพ.ร.บ.การทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ก็ระบุถึงตัวข้อมูล(Content) อยู่ด้วย และเมื่อเริ่มต้นจากการคุมข้อมูลการรับส่ง ต่อไปก็อาจขยายไปสู่การตรวจสอบเนื้อหา ตรวจสอบผู้รับ-ส่ง เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง
อีกทั้งยังอาจส่งกระทบไปถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และอาจลึกไปถึงสิทธิส่วนบุคคลในอนาคต โดยหลายเรื่องยังน่ากังวล และกระทบต่อบรรยากาศการติดต่อสื่อสารของประชาชนบนโลกไซเบอร์ซึ่งมีลักษณะพิเศษของความเป็นสื่อใหม่ที่เราอาจจะไม่คุ้นเคย แต่ก็น่าจะได้เรียนรู้ ศึกษา และแลกเปลี่ยนกันให้กว้างขวางก่อนจะออกกฎหมายมาบังคับใช้
"ตอนจะออกกฎหมายนี้มาบังคับใช้ รัฐมนตรีไอซีที.ก็บอกว่า ต่อไปการดูแลเว็บไซต์จะเป็นหน้าที่ของศาล บอกว่าที่ต้องรีบออกมาเพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม แต่ที่ผ่านมาก็พบว่าในความสนใจในการติดตามตรวจสอบและปิดกั้นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาความคิดเห็นทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจ มากกว่าที่จะไปใส่ใจปัญหาเว็บการพนันหรือเว็บโป๊"

 ++หวั่นกระทบสิทธิเสรีภาพสื่อสาร
นางสาวสุภิญญา ยืนยันว่า ไม่ได้ปฏิเสธการที่จะต้องมีข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารทางไซเบอร์ แต่เนื่องจากเป็นสื่อใหม่ที่เปิดให้มีการไหลเวียนความคิดเห็นอย่างเสรีและกว้างขวางที่สุด ก่อนจะออกกฎหมายมาคุมน่าจะได้แลกเปลี่ยนกันให้ถึงที่สุดก่อน เพื่อให้ได้ข้อยุติว่าสังคมนี้จะยอมรับเรื่องสิทธิเสรีภาพการติดต่อสื่อสารแค่ไหน จะควบคุมไม่ให้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในระดับใดเสียก่อน
ส่วนคนที่ละเมิดนั้นเวลานี้มีกฎหมายหมิ่นประมาทใช้คุ้มครองได้ สำหรับบุคคลสาธารณะก็ต้องยอมรับการถูกวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งสังคมโดยรวมก็ต้องพัฒนาความอดทนในการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง มีวุฒิภาวะในการรับข้อมูลข่าวสารมากขึ้นพร้อมกันไปด้วย แต่เวลานี้รัฐบาลเข้ามาตัดสินใจให้หมดและให้น้ำหนักกับเรื่องความมั่นคงเป็นหลัก เกรงว่ายิ่งออกระเบียบคุมมากขึ้นจะยิ่งเกิดแรงต้าน
นอกจากนี้แล้วยังมีความเป็นห่วงความพยายามที่จะผลักดันกฎหมายในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายฉบับให้ผ่านสภานิติบัญญัติโดยเร็ว ซึ่งหลายคนมีความปรารถนาดีเพื่อให้มีกฎหมายออกมาบังคับใช้ แต่ห่วงว่าจะซ้ำรอยกฎหมายการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์นี้ จึงจะแถลงคัดค้านการเร่งผลักดันกฎหมาย 3 ฉบับคือ ร่างพ.ร.บ.ภาพยนตร์ ร่างพ.ร.บ.กิจการวิทยุโทรทัศน์ และร่างพ.ร.บ.ความมั่นคง ว่า ขอให้ชะลอไว้ก่อน รอสภาที่มาจากการเลือกตั้งในสมัยหน้าค่อยหยิบมาพิจารณาจะดีกว่า เพราะกฎหมายเมื่อออกมาบังคับใช้แล้วแก้ไขยากและมีผลต่อเนื่องในระยะยาว ควรต้องทำอย่างรอบคอบ

 ++แนะไอซีทีเร่งให้ความรู้
นายปริญญา หอมเอนก คณะกรรมการเตรียมการเพื่อดำเนินการตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า พระราชบัญญัติการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะมีผลบังคับใช้วันที่ 18 กรกฎาคมนี้ ส่งผลกระทบวงกว้าง โดยต่อไปองค์กรที่มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ก็ถือเป็นการให้บริการคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร .ซึ่งก็ต้องเก็บข้อมูลล็อก ไฟล์ ไว้ทั้งหมด หรือ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ต่อไปต้องให้ลูกค้า บริการบัตรเติมเงินหรือพรีเพดลงทะเบียน โดยผู้ใช้บริการโทรศัพท์ระบบพรีเพด ก็มีลูกค้าที่ใช้บริการรับ-ส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายจีพีอาร์เอส"
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร หน่วยงานภาครัฐและโรงเรียน ที่มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็ถือว่ามีคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการเหมือนกัน ก็จำเป็นต้องเก็บข้อมูลล็อกไฟล์ เอาไว้ ซึ่งกระทรวงไอซีที จะต้องเร่งประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจ ต้องมีแนวปฏิบัติหรือ ไกด์ไลน์ การเก็บข้อมูลให้ โดยต้องอธิบายให้ชัดเจนว่ากฎหมายดังกล่าวให้เก็บข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้นไม่ได้เก็บข้อมูลทั้งหมด อีกทั้งต้องออกกฎกระทรวง ระยะเวลาการอนุโลมการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้ทุกภาคส่วนเตรียมพร้อม ซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณากันอยู่ว่าจะมีช่วงระยะเวลาอนุโลม 6 เดือน หรือ 1 ปี
++วงการเน็ตเชื่อกม.กระตุ้นยอดผู้ใช้
ด้านนางมรกต กุลธรรมโยธิน นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไทย กล่าวว่า พรบ.ดังกล่าวจะช่วยให้โลกอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไปและช่วยดึงดูดให้คนเข้ามาใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น แต่ที่รู้สึกกังวลคือ พรบ. ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้วันที่ 18 กรกฎาคมนี้ แต่ยังขาดการประชาสัมพันธ์ การเร่งสร้างความเข้าใจกับองค์กรต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติตามพรบ.ดังกล่าว
โดยผู้ที่ต้องปฎิบัติตาม พรบ.ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่เฉพาะแค่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการเว็บไซต์ แต่รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ , องค์กรที่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตให้บริการกับพนักงาน หรือแม้แต่สื่อเอง ก็มีเว็บไซต์หรือมีบล็อกแสดงความคิดเห็น ก็ต้องจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน แต่ส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล
ขณะที่นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผุ้จัดการ บริษัทตลาดดอตคอม จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์ซื้อขายสินค้า www.tarad.com และซื้อขายสินค้ามือสอง www.thaisecondhand.com กล่าวว่า พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จะช่วยให้สร้างความมั่นใจในการซื้อขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต หรืออย่างน้อยเมื่อเกิดปัญหาการซื้อขายเกิดขึ้นก็มีเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจและรู้เรื่องมาดำเนินการ ต่างจากในอดีตที่เกิดปัญหาขึ้นเจ้าหน้าที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย
อย่างไรก็ตามยังเป็นห่วงบริษัททั่วไป ๆ หรือเอสเอ็มอี ที่มีคอมพิวเตอร์ใช้งาน เพราะเชื่อว่าพวกนี้ยังไม่รู้ว่าต้องเก็บข้อมูล หากรู้ก็ไม่รู้ว่าจะเก็บยังไง ซึ่งภาครัฐจะต้องให้ความรู้กับกลุ่มเหล่านี้อย่างเร่งด่วน อย่างไรก็ตามในฐานะที่บริษัทเป็นผู้ให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-คอมเมอร์ซ

 ++ร้านเน็ตหวั่น ก.ม.ให้อำนาจไอซีที
นายสายัณห์ เอี่ยมศรีปลั่ง ทนายสมาคมผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต กล่าวว่าโดยภาพรวมของพระราชบัญญัติดังกล่าวถือเป็นกฎหมายที่ดี แต่ในเรื่องของการจัดเก็บการข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ เพิ่มภาระให้กับผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต รวมถึงทุกภาคส่วนที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแน่นอน
ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ยังไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าวในมาตรา 4 ที่ระบุให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและให้อำนาจในการออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติตามพรบ.ดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมากระทรวงไอซีที ออกกฎหรือประกาศมา โดยไม่มีความเข้าใจการดำเนินธุรกิจ และการถามความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ ซึ่งคาดว่าภายหลังจากประกาศกระทรวงออกมา ผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต จะต้องมีการขึ้นทะเบียน และต้องขอจดทะเบียน ทั้งที่กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงไอซีที


ผลกระทบ พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์

เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ฉบับใหม่เอี่ยมของประเทศไทย เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ไม่เฉพาะแต่คนที่อยู่ในแวดวงไอซีที และคอมพิวเตอร์เท่านั้น คนที่อยู่นอกวงการก็ควรได้มีการศึกษา เรียนรู้ในเรื่องนี้ด้วย เนื่องจากในปัจจุบันนี้ เราเข้ามาเกี่ยวข้องกับไอซีที และคอมพิวเตอร์มากขึ้น มากขึ้น จนเกือบกล่าวได้ว่าจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งในด้านการทำงาน และความบันเทิง

ฉะนั้น การได้มีโอกาสอ่าน และศึกษาเรียนรู้ไว้ จะช่วยให้เราไม่ไปกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการ ลองอ่านบทความนี้ดู เรื่อง "ผลกระทบ พ.ร.บ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์" เขียนโดย ผศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล ที่เขียนไว้ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ เราจะได้รับรู้ในอีกแง่มุนหนึ่งของ พ.ร.บ.ฉบับนี้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น